วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561

สัญลักษณ์ในการวาดแผนภาพ



 ขั้นตอนการดำเนินงาน(Process) เป็นงานที่ดำเนินการตอบสนองข้อมูลที่รับเข้า หรือการดำเนินการตอบสนองต่อเงื่อนไขสภาวะใดๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าขั้นตอนการดำเนินงานนั้นจะกระทำโดยบุคคล หน่วยงาน หุ่นยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ
แหล่งจัดเก็บข้อมูล(Data store) เป็นแหล่งเก็บและบันทึกข้อมูล เปรียบเสมือนคลังข้อมูล(เทียบเท่ากับไฟล์ข้อมูล และฐานข้อมูล) โดยอธิบายรายละเอียดและคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการเก็บหรือบันทึก สัญลักษณ์ที่ใช้อธิบายคือ สี่เหลี่ยมเปิดหนึ่งข้าง แบ่งออกเป็น2ส่วน คือ ส่วนที่1 ทางด้านซ้าย ใช้แสดงรหัสของ data storeโดยอาจจะเป็นหมายเลขลำดับหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น D1 D2 เป็นต้น สำหรับส่วนที่2 ทางด้านขวา ใช้แสดงชื่อ data store หรือชื่อไฟล์

ตัวแทนข้อมูล(external agents) หมายถึง บุคคล หน่วยงานในองค์กร องค์กรอื่นๆหรือระบบงานอื่นๆ ที่อยู่ภายนอกขอบเขตระบบ แต่มีความสัมพันธ์กับระบบ โดยมีการส่งข้อความเข้าสู่ระบบเพื่อดำเนินงาน และรับข้อมูลที่ผ่านการดำเนินงานเรียบร้อยแล้วจากระบบ สัญลักษณ์ที่ใช้อธิบาย คือ สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในจะต้องแสดงชื่อตัวแทนข้อมูล โดยสามารถทำซ้ำได้ด้วยการใช้เครื่องหมาย(back slash) ตรงมุมล่างซ้าย

 เส้นทางการไหลของข้อมูล(data flow)เป็นการสื่อสารระหว่างขั้นตอนการทำงานต่างๆและสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในระบบ โดยแสดงถึงข้อมูลที่นำเข้าและส่งออกไปในแต่ละขั้นตอน ใช้ในการแสดงการบันทึกข้อมูล การลบข้อมูล และการแก้ไขข้อมูลต่างๆ สัญลักษณ์ที่ใช้อธิบายเส้นทางการไหลของข้อมูล คือ เส้นตรงที่ประกอบด้วยหัวลูกศร เพื่อบอกทิศทาง การเดินทางและการไหลของข้อมูล

 

                                         แผนภาพบริบท(context diagram)

เป็นแผนภาพกระแสข้อมูลระดับบนสุดที่แสดงภาพรวมทั้งหมดของระบบที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกระบบ ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการเพียงกระบวนการเดียว นั่นคือ ระบบการศึกษา บุคคล ระบบภายนอก และการเคลื่อนที่ของข้อมูลจากภายนอกระบบสู่ระบบ

 

เเนวคิดเชิงคำนวณประกอบด้วยลำดับการใช้ทักาะย่อย

1.เเนวคิดการเเยกย่อย

เเนวคิดการออกแบบขั้นตอนในการเเก้ปัญหาทำให้ทราบว่าจะต้องทำอะไรก่อนเเละหลังเเตกปัญหาใหญ่ให้เป็นปัยหาย่อยที่มีขนาดเล็กลงเพื่อให้สามารถจัดการปัญหาได้ง่ายขึ้น
Image result for แนวคิดการแยกย่อย


2.เเนวคิดการจดจำรูปแบบ

กำหนดแบบแผนจากปัญหาย่อยต่างๆจากปัญหาที่มีรูปแบบที่หลากหลาย โดยปัญหาต่างๆมักมีรุปแบบที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ หากเราเข้าใจปัญหาจะพบว่าปัยหาที่เเตกต่าง

Image result for แนวคิด การจดจำ รูปแบบ


3.แนวคิดเชิงนามธรรม  การหาแนวคิดเชิงนามธรรมหรือการหานิยาม เพื่อหาแนวคิดรวบยอดของแต่ละปัญหาย่อย เป็นการมุ่งเน้นความสำคัญของปัญหาโดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหา ทักษะนี้เทียบเท่ากับการคิดสังเคราะห์ จนมาได้ซึ่งแบบจำลอง(Model) เช่น การจำลองต่างๆ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ในรูปของสมการและสูตร เป็นต้น


 
 
 
 
 
 

4.แนวคิดการออกแบบขั้นตอน ออกแบบลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วย


การคิดเชิงอัลกอริทึม เป็นความคิดพื้นฐานในการสร้างชุดของลำดับขั้นตอนวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถ

นำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่มีลักษณะแบบเดียวกันได้


 













เเนวคิดเชิงคำนวณ

แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)

 Related image

1) Decomposition  “การแยกส่วนประกอบ และการย่อยปัญหา”

Decomposition เป็นการพิจารณาเพื่อแบ่งปัญหา หรืองานออกเป็นส่วนย่อย ทำให้สามารถจัดการกับปัญหาหรืองานได้ง่ายขึ้น
พูดง่ายๆ เอาปัญหามาแยกย่อยออกเป็นส่วนๆ


2.เเนวคิดการจดจำรูปแบบ

เพื่อดูความเหมือน ความเเตกต่าง ของรูปแบบ การเปลี่ยนเเปลง ทำให้ทราบเเนวโน้มเพื่อทำนายไปข้างหน้าได้

3.เเนวคิดเชิงนามธรรม

เป็นทักษะสำคัญที่มุ่งเน้นความสำคัญของปัญหาโดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็นเเละต่อยอดให้เกิดเเบบจำลองหรือสูตร

4.เเนวคิดการออกแบบขั้นตอน

เเนวคิดการออกแบบขั้นตอนในการเเก้ปัญหาที่ให้ทราบว่าจะต้องทำอะไรก่อนเเละหลัง